รู้ทันกลโกงบัตรเครดิตตอนที่ 1 เรือง ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย...คิดอย่างไร


 รู้ทันกลโกงบัตรเครดิตตอนที่ 1 เรือง ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย...คิดอย่างไร
รู้ทันกลโกงบัตรเครดิตตอนที่ 1 เรือง ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยคิดอย่างไร

รู้ทันกลโกงบัตรเครดิตตอนที่ 1 เรือง ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยคิดอย่างไร
     ทุกวันนี้ ธุรกิจบัตรเครดิต มีการแข่งขันกันสูง มีโปรโมชั่นทั้งในเรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า หรือค่าธรรมเนียมรายปี อัตราดอกเบี้ยที่โฆษณาว่าต่ำกว่าผู้ให้บริการรายอื่น รวมถึงเรื่องของระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยด้วย ว่าธนาคารใดจะให้ระยะเวลานานกว่ากัน ซึ่งก็มีตั้งแต่ 45 ไปจนถึง 55 วัน แต่คุณเคยสังเกตหรือไม่ ว่าระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่ว่านี้มีวิธีคิดอย่างไร เท่าที่สังเกต ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยมักจะคิดว่า ระยะเวลาปลอดอกเบี้ยฯ 45 วัน ถ้าใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า วันที่ 2 ม.ค. ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ก็น่าจะนับไปจนถึงวันที่ 16 ก.พ. จึงจะครบกำหนดชำระเงิน แต่หากกลับไป อ่านสัญญาการใช้บัตรเครดิตให้ดีๆ (ท่านที่ยังเก็บสัญญา หรือ โบชัวร์ของบัตรเครดิตไว้ กรุณานำมาตรวจสอบ) จะเห็นว่าทุกธนาคาร จะให้ระยะเวลาในการชำระคืนโดยปลอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน หากชำระตามกำหนดเต็มจำนวน โดยนับถัดจาก วันที่สรุปยอดค่าใช้จ่าย ไม่ใช่นับจากวันที่ใช้บัตรเครดิต ตามที่ผู้บริโภคเข้าใจ ซึ่งวิธีการนับที่ต่างกันนี้ จะมีผลต่อระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยอย่างมาก พูดอย่างนี้อาจจะฟังเข้าใจยาก ดูตัวอย่างแล้วจะเข้าใจชัดเจนขึ้น

     ตัวอย่าง ธนาคารกำหนดสรุปยอดค่าใช้จ่ายทุกวันที่ 9 ของเดือน ดังนั้น ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยฯ 45 วัน ซึ่งนับจากวันที่สรุปยอด ก็จะไปครบกำหนดในวันที่ 24 ม.ค. ซึ่งเป็นวันที่ต้องชำระเงิน หากชำระหลังจากวันนี้ ธนาคารก็เริ่มคิดดอกเบี้ย ดังนั้น แม้ผู้บริโภคจะใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าเมื่อวันที่ 2 ม.ค. แต่ก็ต้องชำระเงินภายในวันที่ 24 ม.ค. ซึ่งถ้าตามความเข้าใจของผู้บริโภค แบบนี้ก็เท่ากับมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยนับจากวันที่ใช้บัตรแค่ 22 วันเท่านั้นเอง
     อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยฯ ที่ถูกต้องก็ต้องว่ากันตามสัญญา ซึ่งธนาคารก็ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยนับจากวันที่สรุปยอดค่าใช้จ่าย ดังนั้น ถ้าใช้บัตรเครดิตให้ได้ในระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยนานที่สุด ก็ต้องใช้หลังจากวันที่สรุปยอดค่าใช้จ่ายใหม่ๆ
     จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าของที่อยากจะได้ ยังไม่จำเป็นต้องรีบใช้ ยังสามารถรอได้ ก็ไม่จำเป็นต้องรีบซื้อวันที่ 2 ม.ค. แต่ควรรอให้สรุปยอดค่าใช้จ่ายเสร็จ (9 ม.ค.) แล้วค่อยไปซื้อเอาเมื่อวันที่ 11 ม.ค. ก็ได้ซึ่งแบบนี้กว่าจะครบกำหนดก็วันที่ 23 ก.พ. โน่น คิดเป็นระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยตั้ง 43 วัน เท่ากับได้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยเพิ่มอีกตั้ง 21 วันเพียงแค่ชะลอการซื้อของออกไปอีกไม่กี่วัน เกร็ดความรู้ผู้บริโภคอันนี้ก็เอาไว้ใช้สำหรับถ้าซื้อของชิ้นใหญ่ๆ ราคาแพงด้วยบัตรเครดิต ก็ควรจะซื้อหลังจากวันที่เพิ่งสรุปยอดค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะได้ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมนานที่สุด....ที่มา...จำไม่ได้ต้องขออภัย...บัตรเครดิตบล็อก



แท็กซ์  รู้ทันกลโกงบัตรเครดิตตอนที่ 1 เรือง ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยคิดอย่างไร,บัตรเครดิต,กลโกงบัตรเครดิต,โปรโมชั่นบัตรเครดิต,ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยบัตรเครดิต,